Three times four is twelve.

จริงๆ กะจะแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ตั้งแต่เขาโพสท์กันใหม่ๆ แล้ว แต่ก็ลืมไป จนดราม่าออกมาบนเว็บดราม่าก็เลยนึกขึ้นได้ ขอดราม่าอีกครั้ง อีกครั้ง และอีกครั้งละกัน

เรื่องนี้ต้องแยกออกเป็นสองประเด็น เรื่องการกระทำของครู กับเรื่องกระแสของสังคมที่มีกลับมา

อย่างหนึ่งที่คงต้องยอมรับกันก่อนว่า ในทางนิยามของคณิตศาสตร์ 4×3 มันไม่เหมือนกับ 3×4 จริงๆ ซึ่งในคอนเมนต์ท้ายสุดที่เว็บดราม่าฯ เอามาใส่ไว้ก็ชี้แจงได้ค่อนข้างชัดเจนถึงที่มาที่ไป ตอน ป.2 ที่เริ่มเรียนเรื่องการคูณเองผมก็จำได้ว่ามีปัญหาในลักษณะนี้เหมือนกัน ที่ไม่เข้าใจว่าทำไมการคูณถึงต้องนิยามให้ขัดกับหลัก common sense สามัญสำนึก แต่ตอนนั้นอาจจะเพราะยังเด็กไปก็เลยยังไม่ได้ตั้งคำถามอะไรมากมาย จนโตๆ มาถึงจะพอเข้าใจได้ว่าคณิตศาสตร์มันอยู่บนพื้นฐานของการนิยาม ดังนั้นมันเลยต้องตั้งต้นว่าต้องนิยามให้เหมือนกันก่อน แต่ถ้าอะไรจะได้ผลลัพธ์เท่ากับอะไรก็ต้องไปพิสูจน์กันก่อน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ดังนั้นปัญหาของเรื่องนี้ที่ใหญ่ที่สุดนอกเหนือจากการที่ครูเองไม่มีบรรทัดฐานแล้วให้ข้อหนึ่งผิดข้อหนึ่งถูกทั้งๆ ที่ใช้นิยามเดียวกันแล้ว ยังเป็นเรื่องที่ว่าครูไม่สามารถอธิบายหรือสื่อสารให้นักเรียนเข้าใจได้ว่าความผิดนี้เกิดจากอะไร และผิดในจุดไหนของกระบวนการทางคณิตศาสตร์ทั้งหมดที่จะนำไปสู่คำตอบ แม้ว่ามันจะได้ผลลัพธ์เท่ากันก็ตาม

แต่สิ่งที่น่าละเหี่ยใจกว่า คือสารพัดผู้คนที่เข้ามารุมวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะที่ว่า “ก็มันเท่ากัน ครูให้ผิดได้อย่างไร” ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นผลิตผลของความล้มเหลวทางการศึกษาคณิตศาสตร์ที่ทำให้นักเรียนมุ่งเน้นแต่ผลลัพธ์โดยไม่สนใจกระบวนการที่มาที่ไปของเหตุและผลทางคณิตศาสตร์ ทั้งๆ ที่ความมหัศจรรย์ของคณิตศาสตร์มันอยู่ที่กระบวนการและนิยามต่างๆ มากมายที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในศาสตร์อื่นๆ ได้ แต่การเรียนคณิตศาสตร์แบบคิดเลขเร็วและขืนใจให้ทุกๆ คนเรียนอย่างไม่มีทางเลือกก็ทำลายความงดงามนี้ไปหมดสิ้น

ที่จะเหลืออยู่ ก็คงมีเพียงความเกลียดชังที่มีต่อคณิตศาสตร์จากประสบการณ์เลวร้ายที่ฝังเป็นแผลลึกในใจของผู้คนตลอดไป

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s