กลับมา Sydney อีกครั้ง โดยคราวนี้เป็นการใช้เที่ยวบินสุดท้ายของตั๋วแลกไมล์ SYD-BKK-LHR ที่ไป London มาเมื่อพฤษภาคม ซึ่งครั้งนี้แพลนที่จะไป Tasmania เป็นเวลา 4 คืน โดยจองตั๋วแลกไมล์ Jetstar (แลกจากแต้ม Qantas) เส้นทาง SYD-HBA ซึ่งเป็นไฟลท์เย็น เลยทำให้วันนี้มีเวลาช่วงกลางวันที่จะหาอะไรทำที่ Sydney เล็กน้อย

รอบนี้เลยจัดโปรแกรมไป 3 ที่ ได้แก่ Museum of Sydney, Justice and Police Museum และ Chinese Garden of Friendship

ข้างหน้า Museum of Sydney

อันแรก Museum of Sydney เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สร้างบนจุดที่มีบ้าน Governor อยู่เดิม เนื้อหาหลักๆ จึงจะบอกเล่าถึงเส้นทางความเป็นมาของ Sydney ในฐานะเมืองที่คนอพยพชุดแรกเข้ามาตั้งถิ่นฐานในปี 1788 เรียกกันว่าเป็น First Fleet ที่พาเอานักโทษและข้าราชการมารวมกันประมาณ 1,000 คน ค่าเข้าชม AUD15

แบบจำลองบ้าน Governor เค้าบอกว่าด้านหน้าง่ายเพราะว่ามีหลักฐานพวกภาพวาด แต่ด้านหลังจำลองได้ยากมากเพราะว่าไม่มีหลักฐานอะไรเท่าไหร่
ภาพวาดที่สะท้อนจินตนาการของ First Fleet ที่เดินทางเข้ามายังพื้นที่ที่มีเผ่าพื้นเมืองเดิมถือครองอยู่
แบบจำลองเรือต่างๆ ของ First Fleet ที่เดินทางมาจากอังกฤษ
พูดถึงว่า Sydney กลายเป็นเมืองศูนย์กลางการค้า มีสินค้าต่างๆ จากที่ต่างๆ มารวมอยู่ไว้ แล้วก็มีของตัวอย่างมาวางไว้จริงๆ ในกล่อง
รูปนี้ถ่ายมาไม่มีอะไร สงสัยว่าทำไมมันรวยจังเอา Apple Display มาทำจอฉายข้อมูลในนิทรรศการ ไม่ได้มีแค่อันเดียวด้วยนะ ทุกอันเลย

หลังจากนั้นก็จะมีเรื่องราวของ Sydney ที่กลายเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าต่างๆ ในช่วงยุคล่าอาณานิคม ความสัมพันธ์กับชนเผ่าพื้นเมืองเดิม หรือกระทั่งมาจนถึงยุคหลังสงครามที่ต้องแข่งขันกับเมืองใหญ่ในออสเตรเลียเองอย่าง Melbourne

และสำหรับนิทรรศการพิเศษที่มีในช่วงนี้มีการพูดถึงเรื่องดนตรี ว่าคนในยุคบุกเบิกนำเอาวัฒนธรรมดนตรีจากยุโรปมาอย่างไร เพื่ออะไร และแตกแขนงเป็นรูปแบบของออสเตรเลียเองได้อย่างไร

เปียโนตัวแรกที่ผลิตในออสเตรเลีย
เนื่องจากประเด็นหลักในนิทรรศการนี้บอกว่าเพลงถูกนำมาใช้เพื่อให้ผู้อพยพรู้สึกอบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน (อังกฤษ) เค้าเลยให้เราแชร์ว่าเพลงอะไรที่ทำให้เรานึกถึงบ้าน?
เขียนใส่กระดาษที่เป็นรูปตัวโน๊ต แล้วก็ให้เอามาแขวนไว้ตรงนี้

ที่ตื่นเต้นสุดก็คงรู้แล้วว่าจานคว่ำ (จริงๆ คือหอย) ดีไซน์รูปทรงมายังไง

ตัดมาจากทรงกลมแบบนี้

ถัดมาคือ Justice and Police Museum เป็นการย้อนหาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนใน Sydney เหมือนกัน แต่ผ่านข้อมูลอาชญากรรมและภาพถ่ายประกอบหลักฐานต่างๆ ในฟิล์มกระจกที่เหลืออยู่ของตำรวจ เนื่องจากสมัยนั้นการถ่ายรูปยังไม่เป็นที่แพร่หลาย จึงอาจไม่มีหลักฐานมากว่าบ้านเมืองสมัยนั้นเป็นอย่างไร แต่การที่มีรูปถ่ายที่ตำรวจเก็บไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเก็บหลักฐานเพื่อดำเนินคดี กลายเป็นข้อมูลสำคัญให้นักโบราณคดีรู้เรื่องได้ว่าในอดีต Sydney เป็นอย่างไร ค่าเข้าชม AUD15

หน้าทางเข้า
กล้องฟิล์มกระจกยุคโบราณ พร้อมฟิล์มกระจก
ให้เห็นภาพของเมือง Sydney ในยุคก่อนที่ไม่มีหลักฐานทั่วไปมาก แต่มีจากหลักฐานของตำรวจ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจดูว่าฟิล์มกระจกแต่ละอันมีอายุเท่าไหร่
อันนี้จะเป็นภาพในบ้านที่ส่วนใหญ่ถูกถ่ายจุดเกิดเหตุฆาตกรรม ทำให้เห็นว่าสิ่งของในบ้าน หรือชีวิตความเป็นอยู่ในบ้านคนตอนนั้นเป็นอย่างไร
ตัวอย่างศาลที่สมัยก่อนก็อยู่ตรงนี้แหละ

สุดท้ายแวะไปที่ Chinese Garden of Friendship เป็นสวนแบบจีนที่สร้างขึ้นในปี 1988 เพื่อเฉลิมฉลอง Sydney ครบรอบ 200 ปี และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศออสเตรเลียกับประเทศจีน โดยสวนได้รับการออกแบบโดยเมือง Guangzhou (กวางโจว) ที่เป็นเมืองพี่น้องของ Sydney ค่าเข้าชม AUD6

หลังจากนั้นประมาณบ่าย 4 โมงฝนก็ตก ก็เลยรีบเดินทางกลับมาที่สนามบินเพื่อเตรียมตัวเดินทางไป Hobart ต่อไป…

ปิดท้ายด้วยชานมไข่มุก

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s