วันนี้เรามีธีมที่จะเที่ยวแนวเทคโนโลยีทั้งหมดในโซน Silicon Valley แถวนี้ โดยจะมีแก้วเป็นผู้ร่วมทริป เริ่มต้นจากไปที่ Apple Campus โฉบดู Apple Park ไปชม Computer History Museum แล้วให้พี่ที่แก้วรู้จักพาไปดูออฟฟิศ Facebook แล้วปิดท้ายด้วยการไปหาแบดด์ที่ Omnivirt Continue reading “US Trip 2017 – Day 16”
Tag: technology
Rock ‘n’ Roll
ถ้าใครเคยเข้าเว็บของคิวบิกครีเอทีฟ (เช่นเว็บค่าย http://cubiccreative.org/creativecamp13) จะเห็นว่าเรามีการใช้เทคนิกที่ประกอบกับการเลื่อนของหน้าจออยู่หลายจุดเหมือนกัน เช่น parallax พาราแลกซ์ หรือการ snapping เลื่อนหัวข้อตามหน้าจอไปติดที่บางจุดของเนื้อหา ซึ่งโค้ดที่ใช้หลักๆ เริ่มมาตั้งแต่เว็บค่าย Cubic Creative Camp 10 แล้วก็ก็อปปี้แก้ไขจากเว็บหนึ่งมาอีกเว็บหนึ่งไปเรื่อยๆ ไม่มีหลักแหล่ง
แต่ทีนี้เพื่อให้โค้ดเหล่านี้นำไปใช้งานในเว็บใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น เราเลยตัดสินใจทำเป็น framework เฟรมเวิร์กที่สมบูรณ์ในตัวเอง โดยแยกโค้ดจากของเก่าเฉพาะที่เกี่ยวกับเอฟเฟคการเลื่อนหน้าจอต่างๆ ออกมา ปรับใช้รันได้ในตัวเองโดยไม่ใช้ jQuery แล้วตั้งชื่อว่า Rock ‘n’ Roll
ในเบื้องต้นตอนนี้แยกโค้ดออกมาสำหรับเอฟเฟคหลักๆ ได้แก่ Parallax, Zoom, Blur และ Fade แล้ว เดี๋ยวในอนาคตคงจะดูดโค้ดส่วนของ Scrolled, Clipping, Snapping และ Responsive มาใส่เพิ่มอีก
ถ้าใครสนใจ (จะมีไหม) ดูตัวอย่างได้ที่นี่ หรือจะไปโหลดมาแก้มาใช้จาก GitHub ของคิวบิกครีเอทีฟก็ได้ (เป็น repository เรโปแบบ public สาธารณะอันแรกเลยนะเนี่ย)
ภาพประกอบจากคิวบิกครีเอทีฟ
JP/US 2014 – Day 3
ในวันนี้ตอนแรกเรามีแผนการที่จะไปเที่ยวสวนสนุกที่ Nagashima Spaland แต่เนื่องจากว่าเมื่อคืนโดนผีหลอก ทำให้กว่าจะได้นอนก็เกือบเช้า กว่าจะตื่นออกมาก็สายๆ แถมอยู่ในสภาพเน่ามากๆ ตอนนั้นเราเลยตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนกำหนดการจากวันที่ 4 มาวันนี้แทน
รายการแรกจึงเริ่มต้นขึ้นที่เราไปที่ Toyota Commorative Museum of Industry and Technology ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ของโตโยต้าที่จะเล่าถึงประวัติเรื่องราวการเติบโตทางธุรกิจและการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ของโตโยต้าตั้งแต่สมัยที่เป็นบริษัทผลิตเครื่องจักรทอผ้ามาจนถึงการเป็นผู้ผลิตรถยนต์
สำหรับค่าเข้าเราซื้อเป็นตั๋วร่วมกับ Noritake Garden ในราคา 800 เยน ข้างในก็จะมีการแสดงประวัติและการพัฒนาเครื่องจักรต่างๆ ทั้งของอุตสาหกรรมและของโตโยต้าเอง ทั้งในส่วนของการทอผ้าตั้งแต่การทำเส้นใยเป็นด้ายไปจนถึงการเอาด้ายมาทอเป็นผ้า และส่วนรถยนต์ที่อธิบายกลไกการทำงานของส่วนประกอบต่างๆ
ที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือ พนักงานที่เป็นคนให้ข้อมูลที่นี่นอกจากจะน่ารักแล้วยังมีข้อมูลแน่นมากๆ และก็ดูกระตือรือร้นที่จะอธิบาย แม้ว่าจะพูดภาษาอังกฤษไม่ได้มากก็ตาม
และที่พิพิธภัณฑ์นี้ก็มีร้านอาหารอยู่ ตอนแรกก็สองจิตสองใจว่าจะทานดีไหมเพราะกลัวว่าจะแพง แต่สุดท้ายก็พบว่าคุ้มมาก ราคาถูกกว่าที่คิด ยิ่งเทียบกับคุณภาพแล้ว ชุดเสต็กพร้อมขนมปังและสลัดแค่ 900 เยน เลยสรุปได้ว่าจากค่าเข้าที่แสนถูก พนักงานที่แสนดีและเยอะ และอาหารแสนดีแสนถูก เลยรู้สึกว่าพิพิทธภัณฑ์นี้เป็นหน่วยธุรกิจของโตโยต้าที่ไม่ได้เน้นรายได้จริงๆ จังๆ สักเท่าไหร่จริงๆ
ต่อมาเราก็ไปเพ้นท์เซรามิกกันที่ Noritake Garden ตอนแรกสุดเลยเขาก็จะให้เลือกว่าเราอยากจะเพ้นท์บนอะไร เช่นจาน แก้ว แต่ละอย่างก็จะมีราคาไม่เท่ากัน แล้วก็บางอย่างอาจจะเลือกได้ว่าจะเอาแบบที่มีร่างภาพไว้แล้ว ลงสีอย่างเดียว หรือเปล่าๆ ให้ลงเองเลย ผมก็เลยเลือกจานเปล่าๆ มาวาดภาพไม้ตายลงไปตามนี้
หลังจากที่วาดเสร็จ เค้าก็จะเอาไปอบให้เรา แล้วจึงจะส่ง EMS ให้ โดยเราสามารถเลือกว่าจะให้ส่งไปที่อยู่ในญี่ปุ่นได้ฟรี หรือไปที่บ้านเราที่ต่างประเทศเลย โดยที่เราส่งไปที่ประเทศไทยทั้งคู่มีค่าใช้จ่ายรวมที่ 1,900 เยน รวมกับค่าจาน 1,800 เยน เลยตกคนละ 2,750 เยนพอดี ก่อนกลับก็ถ่ายรูปเก๋ๆ ใน Noritake Garden อีกหน่อย
เสร็จจาก Noritake Garden เราก็ตั้งใจว่าจะไปดู Nagoya Castle แต่ปรากฏว่ากว่าจะเดินทางไปถึงก็ปิดซะก่อน เลยได้แต่ดูอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ ก่อนที่จะไปช็อปปิ้งดูของที่ Osu Street ซึ่งแทนก็โดนไปหลายหมื่นเยน ตั้งแต่นาฬิกา เสื้อ หมวก ก็เป็นอันเสร็จสิ้นวันที่ 3 ที่ Nagoya
หมายเหตุ: โพสท์นี้เป็นโพสท์ย้อนหลัง
Google+ or Google-?
ก็เป็นที่ฮือฮาอยู่พอสมควรในช่วงนี้ สำหรับข่าว Google Plus (หากใครยังไม่ทราบ ก็ขอสรุปง่ายๆ ว่าเป็นเว็บเครือข่ายสังคมของทาง Google ที่มีเป้าหมายลึกๆ ที่จะตี Facebook ให้ได้)
จุดเด่นที่สำคัญที่สุดที่ Google Plus พยายามนำเสนอมา (และคิดว่าเป็นจุดที่เหนือกว่า Facebook) คงเป็นเรื่องของ Circles หรือการจัดการเพื่อนของเราออกเป็นวงต่างๆ และทำให้เราเลือกได้ง่ายขึ้นว่าจะแชร์อะไรให้เพื่อนวงไหน
ถ้าให้พูดตามตรง ผมเองไม่ค่อยมีความเห็นที่แน่ชัดกับ Google Plus มากกว่าจะรุ่งหรือจะร่วง (ต่างกับตอนที่เห็น Google Wave หรือ Google Buzz ออกมาทีแรกแล้วค่อนข้างมั่นใจว่าดับแน่ๆ)
แต่ตอนนี้ถ้าให้แสดงความคิดเห็นสั้นๆ เร็วๆ ผมคิดว่ามีเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการที่จะทำให้ Google Plus ไปรอดได้
ประการแรก Facebook ต้องพลาดท่า ซึ่งถ้าอิงจากกรณีของ Hi5 นั่นคือเมื่อถึงจุดที่ Facebook ไม่สามารถควบคุม user-generated content คอนเทนต์ที่เกิดจากผู้ใช้หรือ third-party content คอนเทนต์จากบุคคลที่สาม (เช่นแอปหรือเกมต่างๆ) ให้อยู่กับร่องกับรอยจนไม่กระทบกับประสบการณ์ใช้งานโดยรวมได้ ผมคิดว่า Facebook เคยเกือบพลาดพลั้งแล้วครั้งหนึ่งช่วงที่มี Wall Post จากเกมเยอะๆ แต่ถือว่า Facebook ก็จัดการได้ดีทีเดียว ในอนาคตสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งคงเป็นเรื่องที่ Facebook จะดูแลและควบคุมการใช้ฟีเจอร์ต่างๆ เพื่อการตลาดของเหล่านักธุรกิจ (เช่นแท็กโฆษณา หรือการจัดแคมเปญต่างๆ) ได้อย่างไร (ซึ่งล่าสุดก็มีการออกแนวทางปฏิบัติมาแล้ว)
ประการที่สองที่ค่อนข้างสำคัญ และเป็นจุดอ่อนของ Google มาตลอด คือการทำให้ผู้ใช้ทั่วไปเข้าใจระบบ Circles (ซึ่งโดยส่วนตัวผมคิดว่าไม่ง่าย)
ที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์ของ Google มีฟีเจอร์ที่ดีและโดดเด่นกว่าคู่แข่งอยู่เยอะ แต่อย่างหนึ่งที่เป็นจุดอ่อนของ Google คือความพยายามที่จะนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ ซึ่งจริงๆ แล้วดี แต่ความเข้าใจยากเกินไปสำหรับผู้ใช้ทั่วไป (เช่นเป็นรายแรกๆ ที่พยายามจะทำอีเมลเป็น conversation รวมกลุ่มตามการสนทนาซึ่งจะขัดกับความเข้าใจเดิมของผู้ใช้ที่มีต่ออีเมลปกติ หรือการเก็บเอกสารแบบ Google Docs ที่ค่อนข้างขัดกับความเข้าใจในเรื่องของระบบไฟล์ที่ผู้ใช้เดิมมี ไปจนถึง Google Wave เองที่ล้ำจนไม่เข้าใจเลยว่ามันคืออะไร) ดังนั้นที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์เหล่านี้จึงมักจะเป็นที่นิยมแต่ในกลุ่ม power user ผู้ใช้ระดับสูงที่มีความชำนาญพอจะเข้าใจอะไรต่อมิอะไรของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้
อย่างหนึ่งที่เราสังเกตได้จาก Google Plus คือการพยายามออกแบบในเรื่องของสิทธิ์การเข้าถึงของเนื้อหาต่างๆ ที่ผู้ใช้โพสท์เข้าไปตั้งแต่เริ่มต้น (ซึ่ง Circles เป็นผลจากความพยายามอันนั้น) ปัญหาคือ ผมคิดว่า Circles นั้นเข้าใจยากกว่าการบอกว่าเป็นเพื่อนกัน (บน Facebook) หรือบอกว่าใครตามอ่านของใคร (ใน Twitter) อยู่มาก และค่อนข้างชวนสับสนว่าเราควรจะจัดอะไรไปอยู่ที่ไหนอย่างไร และผลที่จะตามมาเป็นอย่างไร แม้แต่ผมเองในช่วงแรกๆ ก็เกิดอาการ “ชะงัก” อยู่ไม่น้อยว่าจะจัดอะไรอย่างไรดี และในระยะยาวผมคิดว่าการจัดการกลุ่มจำนวนมากเหล่านี้ รวมถึงการเลือกว่าจะแชร์อะไรให้ใครไม่แชร์ให้ใครคงจะวุ่นวายน่าดู อีกทั้งการจัดการความทับซ้อนของความสัมพันธ์ (เช่นบางคนอาจจะเป็นทั้งเพื่อนที่โรงเรียน และเพื่อนที่ทำงาน) บางทีเราจัดซ้อนไปซ้อนมาก็ค่อนข้างชวนให้งง และยังไม่เห็นวิธีง่ายๆ ที่จะจัดการรายชื่อเหล่านี้ในอนาคต ตรงนี้ Google คงต้องทำการบ้านอย่างมากว่าอินเตอร์เฟซจะเป็นอย่างไรให้เข้าถึงผู้ใช้ทั่วไปให้ได้มากที่สุด
แต่ถ้าให้เลือกตอนนี้ ผมคงต้องบอกว่าขอลงเดิมพันไว้กับ Facebook ก่อน ทั้งในเรื่องของฐานผู้ใช้ และพันธมิตรต่างๆ รอบตัวที่ทำได้ไว้ค่อนข้างดีในเวลาที่ผ่านมา