Privileged Unparity Liberally Conservative

ผ่านไปอีกครั้งสำหรับเทศกาล April Fools ที่ก็ยังคงมีการเล่นมุขตลกมากมายจากทั่วสารทิศ อันหนึ่งที่ดูจะฮิตที่สุดในปีนี้คงจะเป็นการตั้งความสัมพันธ์บน Facebook แต่นอกจากนี้แล้ว สิ่งหนึ่งที่พอจะผมพอจะสังเกตได้ คือการเล่นมุขตลกล้อเลียนสถาบันกษัตริย์ ที่คิดว่ามาตรา 112 คงไม่มีผลอะไรเพราะคงไม่ได้ระบุถึงวันที่ 1 เมษายนไว้ด้วย

เมื่อไม่นานมานี้ผมมีโอกาสได้ดูวีดีโอของ RSA Animate ที่มีชื่อว่า The Internet Society : Empowering or Censoring Citizens? แล้วก็มีประเด็นหนึ่งที่ผมแอบฉุกสังเกตขึ้นมาได้ว่า ผมเองถือว่าเป็นคนที่เข้าถึงและใช้เทคโนโลยีการสื่อสารมาก และดูออกว่าจะเป็นคนทางสายนี้เสียด้วยซ้ำ ซึ่งในทางกลับกัน ผมกลับไม่ค่อยจะเชื่อในเรื่องของเสรีภาพในการแสดงออก การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร  หรือแม้แต่เป็นประชาธิปไตยได้เหมือนกับเทรนด์ที่อาจพูดได้ว่าเป็น “สมัยใหม่” เสียสักเท่าไหร่

ที่ผ่านมา ถ้าพูดกันตามตรง ผมเป็นคนที่ไม่ค่อยมีความคิดเห็นที่รุนแรงหรือมีจุดยืนที่หนักแน่นอะไรทางการเมืองเสียเท่าไหร่ ผมยังไม่กล้าพูดเสียด้วยซ้ำว่าผมเป็นคนที่เชื่อในประชาธิปไตย เพียงแต่ตัวเองก็ไม่ได้มีไอเดียอะไรที่ดีกว่านี้เลยไม่คิดจะออกความเห็นอะไร อย่างหนึ่งคงเพราะว่าผมสนใจในเรื่องอื่นอย่างเรื่องการศึกษาเสียมากกว่า และอีกอย่างคงเป็นเพราะผมไม่เคยต้องเสียประโยชน์อะไรจนต้องรู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจและต้องมาร้องแร่แห่กระเชิง

ถึงอย่างนั้น ผมก็เชื่อในความคิดพื้นฐานของการเมืองที่ว่าด้วยการจัดสรรผลประโยชน์ในสังคมนะครับ ในทางเดียวกัน ผมจึงไม่เคยรู้สึกอะไรหากใครก็ตามจะมาเรียกร้องหรือต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ส่วนตัว ผมคิดว่านั่นเป็นสัจธรรมที่สิ่งมีชีวิตใดๆ บนโลกนี้ต้องต่อสู้เพื่อตัวเองอยู่แล้ว อันนี้คงสะท้อนได้ง่ายๆ จากประเทศสิงค์โปร์ที่จริงๆ แล้วรัฐบาลออกจะมีความเป็นเผด็จการ มีการควบคุมข่าวสารต่างๆ ที่ยิ่งกว่าประเทศไทยเสียอีก แต่แค่เพราะเขาสามารถทำให้ทุกคนมีความสุข อยู่ดีกินดีได้ เลยไม่มีใครที่คิดจะมาวุ่นวายอะไรเสียเท่าไหร่

ดังนั้นหากมาถึงประเด็นของระบอบกษัตริย์แล้ว ผมก็คงต้องพูดตรงๆ ว่าสำหรับตัวผมเอง การมีอยู่หรือไม่มีอยู่ของสถาบันฯ คงไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรกับชีวิตของผมมากมายจนรู้สึกว่าต้องหันเหไปทางไหน ผมเองก็คงไม่กล้าพูดว่าตัวเองเป็น royalist รอยัลลิสต์เพราะก็ไม่ได้จงรักภักดีอะไรขนาดนั้น อาจด้วยเพราะเกิดมาในยุคที่ไม่ได้เห็นคุณประโยชน์อะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันกว่าการเป็นสัญลักษณ์ทางการกุศลต่างๆ อย่างที่เป็นในปัจจุบัน ถึงกระนั้น ผมก็คงไม่ได้รู้สึก convinced ทำให้เชื่อว่าการมีอยู่ของสถาบันเป็นพิษเป็นภัยอะไร ซึ่งเหตุผลคงมีดังต่อไปนี้

ประการแรก ผมมีคติหนึ่งที่คิดอยู่เสมอคือ “Life is unfair.” และผมเลยไม่เคยรู้สึกมีปัญหาว่าตนเองจะเกิดมามีมากหรือมีน้อยกว่าใครในประเด็นไหน เพราะมันไม่มีทางเป็นไปได้ที่ทุกคนจะอยู่กันได้แบบเท่ากันอย่างในอุดมคติ และสิ่งมีชีวิตทั้งหมดก็อยู่กับแบบที่ผู้มีอำนาจมากกว่ากำหนดชะตาผู้มีน้อยกว่าอยู่แล้ว ถ้าเราจะบอกว่าการที่เราเกิดมาถูกคนอื่นกดขี่นั้นเป็นเรื่องไม่ยุติธรรม แต่เราเองก็ยังกดขี่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ บนโลกใบนี้ตั้งแต่หมูหมากาไก่ไปถึงแบคทีเรียและไวรัสเพื่อผลประโยชน์ของเราเอง ผมเลยรู้สึกว่ามันไม่ make sense สมเหตุสมผลเสียเลยที่เราจะต่อสู้เพื่อความยุติธรรม ทั้งๆ ที่เราเองก็ไม่คิดจะยุติธรรมกับสิ่งมีชีวิตอื่นที่ด้อยกว่าเรา

แต่ประเด็นนี้อย่างหนึ่งที่ผมต้องพูดให้ชัดเจนคือ ผมไม่มีปัญหาที่ใครจะต่อสู้เพื่อตนเองอย่างที่กล่าวไปตอนต้น เพราะมันเป็นสิ่งที่ทุกสิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องทำอยู่แล้ว แต่นั้นก็คือการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ดังนั้นการที่จะเอาอุดมการณ์มาอ้างเลยดูเป็นเรื่องที่ดูไม่ค่อยเกี่ยวกันในสายตาผมเสียมากกว่า ทั้งนี้ทั้งนั้นผมก็ยังเคารพหากใครจะมีอุดมการณ์ส่วนตัวในเรื่องใดๆ เพราะผมเองก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นเดียวกัน

ประการที่สอง ผมเองรู้สึกว่าผมไม่มีบรรทัดฐานอะไรที่จะไปตัดสินว่าการที่คนๆ หนึ่งจะเกิดมาได้อำนาจเบ็ดเสร็จในขอบเขตหนึ่งนั้นเป็นเรื่องผิดอะไร ทุกวันนี้ผมเกิดมาก็บังเอิญได้รับสิทธิ์บางอย่างพร้อมๆ กับการอยู่ใต้การถูกควบคุมสิทธิ์อยู่แล้ว ผมอาจจะเกิดมามีบ้านเป็นของตัวเอง หรือเกิดมาเช่าบ้านเขาอยู่ ผมเลยรู้สึกว่ามันก็เป็นเรื่องปกติที่ใครบางคนจะได้ถือครองอะไรบางอย่างมาแบบไม่ยุติธรรมอยู่แล้ว ผมเลยนึกไม่ออกว่าถ้าผมบังเอิญมีสิทธิ์ในการถือครองที่ดินส่วนหนึ่งและกำหนดชะตาชีวิตของต้นไม้ หรือไปไล่หมาแมวที่อยู่ในพื้นที่นั้นได้ ทำไมการที่คนๆ นึงที่บังเอิญมีสิทธิ์พิเศษบางอย่างในพื้นที่ส่วนหนึ่งที่เขาบังเอิญเกิดมาได้สิทธิ์นั้นจะเป็นสิ่งที่ผิด

เช่นเดียวกัน ผมเองก็ยังรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องที่ถ้าเราเป็นหมาเป็นแมวที่ถูกไล่ที่จะต่อสู้เพื่อเอาผลประโยชน์เราคืนมา เพียงแต่มันก็ต่างกันอยู่มากกับการที่เราจะไปตัดสินว่าการที่คนๆ นั้นบังเอิญมีสิทธิ์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่ผิด และทำเป็นอ้างนู้นอ้างนี่ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วเราก็กำลังสู้เพื่อตัวเองเท่านั้น

ประการสุดท้าย ผมคงต้องอ้างถึงประโยคเด็ดของ Peter Parker ในเรื่อง Spiderman ว่า “With great power comes with great responsibility. This is my gift, my curse.” เรื่องนึงที่ผมคงปฏิเสธไม่ได้ว่าผมเองเกิดมาอย่าง privileged มีกินมีใช้เหนือกว่าคนอื่นอยู่พอสมควร ยิ่งในระหว่างนั้นผมมีโอกาสได้ทำงานในจุดที่มีอำนาจบางอย่างได้โตกว่าตัวผมเองในความเป็นจริงอยู่มาก สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมเรียนรู้ในช่วงเวลาที่ผ่านมาคือ การที่เรามีเงินและอำนาจเหนือกว่าผู้อื่นนั้น ทำให้เราเองควบคุมชีวิตเราได้ยากขึ้นเท่านั้น อย่างหนึ่งคือคนอาจคิดไปว่าเรามีมากกว่าคนอื่น เราน่าจะสบายหรือได้อะไรถูกจิตถูกใจกว่าคนอื่น แต่จริงๆ แล้วการที่ผมมีอำนาจอยู่มาก ผมก็มีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้นตามไปด้วย และหลายๆ ครั้งหลายๆ สิ่งรอบตัวมันก็ไม่ได้ถูกจิตถูกใจอย่างที่คนอื่นคิด แต่บางทีเพราะจุดที่เราอยู่เราพูดอะไรไม่ได้ คนก็คิดไปว่าเราไม่ได้มีปัญหาอะไร พอใจ หรือเห็นด้วยกับสิ่งนั้นๆ

นอกจากนี้แล้ว คนก็จะตีตราหาค่าและสรุปตัวตนของเราจากสิ่งที่เรามี โดยอาจไม่ได้เข้าใจจริงๆ ว่าเรื่องราวเป็นอย่างไรก็ได้ เช่นอาจจะคิดไปว่าผมเองได้ผลประโยชน์มหาศาลจากการมีอยู่ของคิวบิกครีเอทีฟ เพราะไม่เข้าใจว่าผมมีเงินมาจากไหน หรือถูกตีตราไปว่าผมต้องอยู่คนละฝั่งกับ KUSAC ทั้งๆ ที่ผมเคยมีปัญหาในระดับส่วนตัวแค่กับบุคคลบางคนเท่านั้น แต่ที่เหลือกลายเป็นเรื่องที่ตามมาจากตำแหน่งหน้าที่ หรืออำนาจของผมทั้งๆ ที่ตัวผมเองไม่ได้คิดอย่างนั้นเลย

ผมเลยคิดว่าเรื่องหนึ่งที่สำคัญ คือการแยกแยะระหว่างตัวคน กับตำแหน่งหน้าที่และระบบที่มีอยู่ เราอาจไม่เห็นด้วยกับบทบาทหน้าที่ของตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งได้ด้วยเหตุด้วยผล แต่การที่เราจะชิงชังตัวคนนั้นๆ เพราะเขาบังเอิญอยู่ในตำแหน่งที่เราไม่เห็นด้วยอาจเป็นคนละเรื่องกัน ทุกวันนี้ผมเองก็ยังคาดหวังว่าเมื่อไหร่น้องๆ KUSAC ที่ไม่พอใจอะไร KUSAC จะเลิกมาบ่นกับผมด้วยความที่อนุมานไปเองว่าผมจะเป็นคนละพวกกับ KUSAC เสียสักที ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วผมโคตรที่จะเข้าข้าง KUSAC เสียด้วยซ้ำ หรือเลิกเกลียดผมเพราะไม่ชอบไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่คิวบิกครีเอทีฟทำ เพราะตัวผมจริงๆ กับตัวผมในฐานะของคนในคิวบิกครีเอทีฟ เป็นคนละคนกัน

ผมเลยมองเห็นว่าการต่อสู้ในเรื่องนี้ด้วยความรักตัวเองหรือพวกพ้อง มันแตกต่างกับการต่อสู้ด้วยความรู้สึกเกลียดชังตัวบุคคลหรือสถาบัน และมันก็ให้คุณค่าที่ต่างกันเสียมาก

ทุกวันนี้ คนรอบตัวผมก็มีคนที่ต่อสู้ในเรื่องเหล่านี้อยู่พอสมควร หลายๆ คนผมก็เห็นว่าเป็นคนที่ต่อสู้ด้วยเหตุผลและตรรกะที่น่าชื่นชม (เช่น @chayanin) ในขณะที่หลายๆ คน ผมก็กลับรู้สึกว่าพวกเขากำลังต่อสู้โดยใช้ความชิงชังเป็นที่ตั้ง

จนผมอดคิดไม่ได้ว่า ความชิงชังนี้หรือเปล่าที่เปลี่ยนพวกเขาที่แสนสดใสสนุกสนานคนเดิมที่ผมรู้จัก กลายเป็นอีกคนที่ผมหวาดกลัวไปได้

9 thoughts on “Privileged Unparity Liberally Conservative

  1. คิด ๆ ดูแล้วสงสัยอยู่ว่าตัวเองรับ [influence] จาก Zerothman มามากน้อยแค่ไหน แต่ไม่ค่อยมีจุดต่างในแนวคิดเท่าไร

    แต่ในเชิง normative แล้ว… อื่มม… คิดไม่ออก ช่างเถอะ

  2. ส่วนเรื่องของ [anti-royalist sentiment] นั้น คิดว่าอย่างที่เห็นใน [immediate social circle] ของตัวเองก็ไม่ได้มีอะไรแปลก แต่ที่สงสัยคือในระดับรากหญ้าทั่วไป ว่ามี [counter-propaganda] อะไรที่ไปผลักดันตรงนั้นได้

    1. ไม่ได้มีอะไรแปลก แปลว่าอะไรอ่ะครับ?

      หมายถึง ไม่ได้มีใครที่ anti แบบสุดโต่งมาก ๆ หรือว่า anti แบบสุดโต่ง แต่เข้าใจได้อ่ะฮะ?

      1. หมายถึงว่าโดยพื้นฐานทางเศรษฐสังคมมันก็มีแนวคิดแบบนี้มานานแล้ว ในขณะที่ระดับรากหญ้านี่มันดูเป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นใหม่

  3. ไม่มีคอมเมนท์อะไรพิเศษครับ เห็นด้วยทุกประการฮะ

  4. เปลี่ยนใจ

    ลองตอบตามสามประการของพี่ณัช

    ย้ำว่า อันนี้ไม่ใช่ความคิดส่วนตัว แต่เป็นเหตุผลของฝั่ง anti เท่าที่ผมคุยมากครับ

    ประการแรก Life is unfair

    ข้อโต้แย้ง >>> เพราะ life มัน unfair เราเลยต้องทำให้มัน fair ครับ ถึงจะได้ไม่ 100% แบบที่พี่ณัชบอก แต่ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ส่วนฅนที่ไม่คิดจะทำอะไรเลย ก็เพราะว่าเป็นฅนที่ได้ประโยชน์จากโครงสร้างที่ unfair อยู่แล้วน่ะฮะ

    ประการที่สอง อำนาจเบ็ดเสร็จ

    ข้อโต้แย้ง >>> ฅนได้อำนาจพิเศษเบ็ดเสร็จ ไม่ได้ผิดในตัวเอง แต่ผิดที่ระบบครับ ที่ไปเอื้อให้กับอภิสิทธิ์แบบนั้น ซึ่งไม่ได้มีเหตุผลอะไรเลย เพราะไม่ได้ให้อภิสิทธิ์ตามความสามารถ เพราะฉะนั้น เราต้องแก้ระบบ (life จะได้ fair ตามข้อหนึ่ง)

    ประการที่สาม great power comes with great responsibility

    ข้อโต้แย้ง >>> ปัจจุบัน ฅนที่มีอำนาจ ไม่ได้มี responsibility น่ะสิครับ (กล่าวคือ ลุกขึ้นมาทำอะไรก็ได้ ไม่ถูกตรวจสอบ ไม่ถูกวิจารณ์ ไม่ถูกลงโทษ) เราถึงต้องแก้ระบบเพื่อไม่ให้เหมือนดังข้อ 1-2

    จริง ๆ เรื่องพวกนี้ จะถกเถียงกันก็ยาวน่ะครับ แต่ประโยคสุดท้ายของพี่ณัช จับใจมากจริง ๆ ครับ เพราะฅนที่ผม (หรือเรา) รู้จัก น่ารักใส ๆ ซื่อ ๆ ตรงไปตรงมา แต่เปลี่ยนเป็นประชดเสียดสี กระแทกแดกดัน เสียจนน่ากลัว คือจริง ๆ เท่าที่ฟังเจ้าตัวเล่า ก็พอเข้าใจที่มาที่ไปได้นะครับ (โดนญาติพี่น้องขับไล่ขนาดนั้น ก็สมควรอยู่) แต่การที่ประสบการณ์เลวร้ายส่วนบุคคล ไปทำให้เราจงเกลียดจงชัง ‘บุคคล’ ใดบุคคลหนึ่ง ผมคิดว่าก็น่าเศร้าใจพอสมควรครับ

  5. unintentionally pass by 🙂

    wanna know who โดนญาติพี่น้องขับไล่ขนาดนั้น but I think I don’t know her.

    By the way, I totally agree with P’Gon in EVERYTHING you write here ka!!!! Did you made me one of your samples ka P’ Gon?? HAHAHAHAHA XD

    I don’t know anyone who stop being สดใสสนุกสนาน (if he or she was before) because of politics though.
    I saw people get serious during the discussion about politics but apart from that they come back to be themselves.

    To finish, I don’t feel bad to people who have different political ideas from me. It’s normal! Right comes together with Left(together with neutral and so on). Just like the religion, we have our right to like any ideas we want.

    What makes me feel bad is in Thailand we tend to makes left people bad without listening to their opinions. P’Gon is one of the not many conservative people I know who listen to the liberal and I love that! 😀

Leave a reply to Paul_012 Cancel reply